รีวิวหนัง : Malicious (2018)

หนังเล่าถึงครอบครัวเพียซ์เดินทางไปนอกเมืองเพื่ออาศัยในบ้านหลังใหม่ บ้านที่เคยเกิดเหตุฆาตรกรรมสามีฆ่าภรรยา เพราะเพียชผู้นำของบ้านได้ถูกเลือกเข้ามาสอนวิชาคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ คุณนายเพียซท้องได้หลายเดือน แต่วันหนึ่งเธอก็แท้งลูก สืบไปพบว่าน่าจะเกิดจากกล่องอาถรรพ์ใบหนึ่งที่พวกเขาได้เป็นของขวัญจากน้องสาว กล่องใบนั้นที่ไม่สามารถมัใครเปิดได้แต่คุณนายเพียซเปิดได้ ทั้งสองคนเห็นภาพบุคคลในบ้านทั้งเด็ก หญิงสาว คนแก่ เขาจึงติดต่อศาสตราจารย์ตาบอดท่านหนึ่งที่เชี่ยวชาญด้ายไสยศาสตร์มห้มาช่วยเหลือ ศาสตราจารย์บอกว่าทุกอย่างมันเกิดจากบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ในกล่อง ชาวแอสแทกซ์เรียกว่ากล่องเจริญพันธุ์ เพราะมีแต่หญิงท้องเท่านั้นที่เปิดออกได้ จากนั้นก็ทำพิธีกรรมไล่วิญญาณตามหลักวิทยาศาสตร์ ศาตราจารย์เห็นว่ามีวิญญาณร้ายถึง 5 ตน หนังใหม่ 2021

เป็นหนังผีสยองขวัญที่มีพล๊อตเรื่องไม่ได้แปลกใหม่อะไร เล่าเรื่องเหตุการณ์ครั้งก่อนโดยเชื่อมโยงมาสู่เหตุการณ์ครั้งใหม่โดยมีวัตถุคือกล่องเป็นตัวเชื่อมโยง และวิธีการหยุดเรื่องร้าย ๆ ได้ก็ต้องทำให้สูญเสียบางอย่างที่ไม่สามารถตัดสินใจได้

เนื่องจากนายเพียซคืออาจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ สอนวิชาตรรกศาสตร์ เขาเชื่อว่าทุกสิ่งที่อย่างที่เกิดขึ้นล้วนแต่มีเหตุมีผล เป็นตรรกะซึ่งค้านกับความเชื่อเรื่องผีที่ไม่มีความเป็นตรรกะ ดังนั้นหนึ่งจึงนำเสนอถึงความขัดแย้งของความเป็นเหตุเป็นผลกันนั่นเอง การแก้ปัญหาของหนังก็ทำได้ไม่ยากนั้น แต่นับเป็นการแก้ปัญหาที่เข้าสูตรของหนังแนวนี้

เป็นหนังผีที่ไม่ได้มีบรรยากาศที่หลอกหลอนมากนัก แต่สร้างความน่ากลัวให้กับตัวละครมากกว่า เนื่องจากเราเป็นคนนอกที่มองเข้าไป เราจึงทำได้แค่เอาใจช่วยตัวละครเท่านั้น จังหวะตกใจก็ไม่ได้มีอะไรมากมายนัด ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า มนแง่ความเป็นหนังผ่จึงไม่ได้น่ากลัวเท่าที่ควร นับเป็นหนังผีเชิงจิตวิทยามากกว่า

จากเรื่องนี้ทำให้เข้าใจได้ว่าแม้โลกตะวันตกจะเจริญแค่ไหน มีความคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลมากเท่าไหร่ ก็ไม่อาจทิ้งเรื่องราวเกี่ยวกับคติชนไปได้ โดยเฉพาะเรื่องของอาถรรพ์และเรื่องราวของผี เป็นการตอกย้ำว่า วิทยาศาสตร์และไสยศาสตร์จะเป็นของที่อยู่คู่กันตลอดไปกับโลกใบนี้อย่างแยกไม่ออก

รีวิวหนัง : Phantasm: Ravager (2016)

แน่ใจว่าในบ้านเราคงมีคนรู้จักหนังชุดนี้อยู่ไม่มากครับ และคนที่ดูครบชุดก็น่าจะมีน้อยลงไปอีก (ภาคนี้จะมีแผ่นเข้าบ้านเราไหมก็ยังไม่แน่ใจเลยเนี่ย 555) ดังนั้นบทความนี่จะออกแนวเฉพาะกลุ่มหน่อยๆ ครับ เหมาะสำหรับแฟนๆ หนังชุดนี้ หรือไม่ก็คนที่อยากรู้จักหนังชุดนี้น่ะนะครับ ^_^

Phantasm คือหนังสยองระดับตำนานอีกหนึ่งชุดครับ ภาคแรกถือกำเนิดในปี 1979 ว่าด้วยเพื่อนรักกลุ่มหนึ่งไปค้นพบความลับที่ซ่อนอยู่ในสถานที่เก็บศพประจำเมือง ที่นั่นมีชายลึกลับร่างสูง (อันเป็นที่มาของฉายา The Tall Man) ที่มีพละกำลังอย่างเหลือเชื่อ และแอบเอาศพของชาวเมืองไปเพื่อแผนบางอย่าง

ภาคแรกทำได้สนุกสุดครับ ลึกลับ น่ากลัว หลอน ชวนฉงน มีเอกลักษณ์ในแบบของตัวเอง และผู้กำกับอย่าง J.J. Abrams ยังออกตัวว่าชอบมากและเขายังเป็นหัวหอกในการเอาภาคแรกที่ว่ามา Remaster เป็น Blu-Ray แบบ 4K ให้แฟนๆ ได้สะใจกัน (เพราะหลายฉากของหนัง หากดูแบบ HD นะ มันจะสวย+หลอนได้แบบลงตัว – โดยเฉพาะฉาก Tall Man เดินมาเดี่ยวๆ กลางห้องเก็บศพ)

แล้วหนังก็ทำตามออกมาจนถึงภาค 4 ครับ (ภาค 3 ได้เข้าในไทยในชื่อ “วงจรประหลาด ไม่อุบาทว์-แต่ดุ”) ทุกภาคกำกับโดย Don Coscarelli แล้วก็เว้นช่วงไปนานมากจนผมเองก็คิดว่าคงเลิกสร้างแล้วล่ะ เพราะจริงๆ ตอนจบภาค 4 นั้น หากจะตัดให้มันจบ ณ ตรงนั้นก็ได้เหมือนกัน ไม่ถึงกับน่าเกลียดอะไร

แต่ในที่สุดก็มีการเข็นภาค 5 นี้ออกมาครับ ซึ่งสร้างห่างจากภาค 4 ถึง 18 ปี (ปีนี้เป็นปีแห่งหนังภาคต่อข้ามทศวรรษจริงๆ นะ เพราะหนังภาคต่อหลายเรื่องสร้างห่างจากภาคก่อนเป็น 10 ปีทั้งนั้น) โดยคนมากำกับคือ David Hartman แฟนอีกคนของหนังชุดนี้ที่มีประสบการณ์ในหนังแอนิเมชั่นและหนังเน้น CG มาพอสมควร

ภาคนี้ตั้งใจจะให้เป็นภาคจบครับ แต่ผมก็คิดก่อนดูแล้วล่ะว่ามันคงไม่ขมวดจบสรุปเรื่องได้จริงหรอก เนื่องจากสเกลเรื่องมันใหญ่ครับ ภาคแรก The Tall Man ยังเป็นเหมือนปีศาจในเมืองเล็กๆ แต่พอมาถึงภาค 4 นี่พลังอำนาจของมันกลายเป็นมอนสเตอร์ระดับจักรวาล ชนิดที่ถ้าอยากสยบ The Tall Man นะ ต้องไปตามพวก Avengers มาน่ะครับถึงจะเอาอยู่

ภาคนี้เลยเป็นการพยายามหาทาง “แลนดิ้ง” เรื่องราวลง เป็นการพยายามปิดตำนานให้มันสวยๆ สักหน่อย ถ้าถามว่าผลเป็นยังไง ก็รู้สึกได้ครับว่าผมชอบหนังภาคนี้น้อยที่สุด ซึ่งที่บอกว่าน้อยนี่ไม่ได้แปลว่าหนังแย่นะครับ จริงๆ มันก็ดูได้เพลินๆ นั่นแหละ เพียงแต่ความสนุกหรือความน่าติดตามมันเทียบภาคที่แล้วๆ ยังไม่ได้

จริงๆ ภาคนี้มีบทที่น่าสนใจ มันมีเรื่องมิติคู่ขนานมาเกี่ยวน่ะครับ เรื่องโลกความฝัน-ความจริง แล้วก็การบอกเล่าว่าหลังจากตอนจบภาค 4 แล้วมันเกิดอะไรขึ้นต่อกับเหล่าตัวละคร โดยเนื้อเรื่องน่ะถือว่าน่าสนใจอยู่

แต่การเล่าเรื่องยังไม่ถึงกับน่าติดตามครับ และหนังพยายามเน้น CG มากเกินไป ก็พอเข้าใจล่ะครับว่าอยากสร้างความยิ่งใหญ่ แต่ผมว่าเสน่ห์จริงๆ ของ Phantasm คือความหลอนแบบที่เกิดขึ้นได้ใกล้ๆ ตัว อารมณ์มันจะประมาณว่าในตอนนี้โรงงานใกล้ๆ บ้านเรา หรือหอพักใกล้ๆ บ้านเราอาจเกิดเรื่องหลอนขึ้น อาจมีตัวสยองกำลังค่อยๆ กลืนคนไปโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย ภาคแรกอารมณ์มันจะใกล้ตัวประมาณนั้นน่ะครับ

แต่ก็พอเข้าใจน่ะครับ ภาค 4 ก็เล่าไปซะไกลขนาดนั้นแล้ว ภาคนี้เลยพยายามต่อยอด ถ้าพูดในเชิงเนื้อเรื่องก็โอเคครับ แต่งานภาพที่ CG แบบไม่เนียนเท่าไรมันก็กลบความน่ากลัวที่หนังพึงมี ไปๆ มาๆ ฉากที่น่าสนใจคือฉากง่ายๆ อย่างโถงทางเดินของโรงพยาบาลที่มืดสนิท หรือฉากที่ตัวละครนอนอยู่แล้วเกิดอะไรแปลกๆ ขึ้น แบบนี้เป็นต้น

อีกอย่างคือจังหวะการเล่าเรื่องมันยังไม่เด่นครับ 4 ภาคแรกน่ะได้ Don Coscarelli คุมตลอด และเขาก็เก่งอยู่แล้วในการเล่าเรื่องแบบชวนฉงน (แต่ดูรู้เรื่อง) ในขณะที่ Hartman ชั่วโมงบินยังไม่ถึงน่ะครับ การเล่าเรื่องเลยยังไม่โดนเต็มที่ และบางฉากก็ดูเป็นหนังเกรดบีค่อนไปทางซีเลยก็มี (ในขณะที่งานของ Coscarelli แม้จะออกแนวเกรดบีเหมือนกัน แต่ก็เป็นเกรดบีมีคลาส มีเอกลักษณ์ในแบบของตัวเองอยู่เสมอ)

แต่แนวคิดเรื่องมิติคู่ขนานถือว่าไม่เลวครับ เป็นการแลนดิ้งที่ดี คือแม้สุดท้ายการต่อสู้ระหว่างพวกตัวเอกกับ Tall Man จะยังไม่จบลงจริงๆ ก็ตาม แต่เราก็จะได้เห็นบทสรุปของ “อีกโลกหนึ่ง” ว่าเป็นเช่นไร แต่ก็อย่างที่บอกครับ จังหวะการสลับระหว่างโลกความฝัน-ความจริง มันยังไม่จับใจ ไม่เหมือนภาคก่อนๆ ที่ลีลาการเล่ามันมีชั้นเชิงกว่านี้

สรุปว่าลำดับความชอบของผมที่มีต่อหนังชุดนี้ก็เรียงไปตามภาคเลยครับ 1 2 3 4 5 ซึ่งคนที่น่าจะโอกับหนังเรื่องนี้ก็คงเป็นแฟนๆ ที่ตามกันมานานน่ะครับ ไหนๆ ก็ดูแล้ว ก็ตามมาดูกันให้จบ (แต่แฟนๆ หลายคนดูแล้วไม่ชอบก็มีครับ) แต่หากใครเป็นขาจร ก็น่าจะเฉยๆ หรือไม่ก็งงว่าตกลงมันเรื่องอะไรกัน

แล้วก็สนุกเล็กๆ ที่ได้เจอตัวละครเก่าๆ อย่าง สาวในชุดสีลาเวนเดอร์จากภาคแรก (Kathy Lester) และ ร็อกกี้ จากภาค 3 (Gloria Lynne Henry) แม้จะเจอแค่อย่างละนิดละหน่อยก็เถอะ

สำหรับผมก็ถือเป็นการโบกมืออำลา Angus Scrimm เจ้าของบท Tall Man ด้วยครับ เพราะท่านเสียชีวิตไปเมื่อต้นปี 2016 ที่ผ่านมา ขอไว้อาลัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ (เคยเห็นคลิปเบื้องหลัง ท่านน่ารักมากๆ และพูดภาษาไทยได้ด้วยนะ)

รีวิวหนัง : Chernobyl Diaries (2012)

ตอนดูตัวอย่างก็ไม่รู้สึกว่าอยากดูอะไรนักครับ แต่มาสนใจเพราะฉากเด็กหันหลังนั่นแหละ ดูแล้วหลอนดี เลยลองดูสักรอบ (แม้กระแสจะไม่ดีนักก็ตาม)

เรื่องของวัยรุ่น 6 คนที่ซื้อทัวร์ไปเที่ยวนิคมเชอร์โนบิลที่อยู่ในเขตพริเพียต ทางตอนเหนือของยูเครน ซึ่งที่แห่งนี้ก็เคยเกิดเหตุการณ์สะเทือนโลกครับเมื่อโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจนโดยรอบปนเปื้อนไปด้วยกัมมันตภาพรังสี (ช่างสรรหาที่เที่ยวจริงๆ นะคนเรา) ตอนแรกพวกเขาก็ตื่นตากับสถานที่อันเงียบสงบที่แฝงไว้ด้วยความน่ากลัว ทว่าตอนจะกลับนี่สิครับ รถดันมีปัญหา ทำให้พวกเขาต้องอยู่ที่นั่น… ตามด้วยการพบว่า พวกเขาไม่ใช่พวกเดียวที่อยู่ในสถานที่แห่งนั้น หนังใหม่ 2021

พระเอกจริงๆ ของหนังคือสถานที่ถ่ายทำครับ เลือกได้เหมาะมาก เนื่องจากไม่สามารถไปถ่ายยังสถานที่จริงได้ (เพราะยังมีกัมมันตภาพรังสีเจือปนอยู่) ทีมงานเลยต้องโยกไปถ่ายทำกันที่ฮังการี่และเซอร์เบีย แล้วก็เลือกโซนที่บรรยากาศใกล้เคียง ยอมรับครับว่าดูหลอนใช้ได้ พวกตึกร้างๆ ข้าวของพังๆ มันดูชวนผวามากๆ

ตอนกลางวันว่าหลอนแล้ว ตอนกลางคืนยิ่งไปกันใหญ่ครับ บรรยากาศมันให้จริงๆ และที่ผมชอบอีกอย่างคือช็อตที่เป็นลานกว้างๆ น่ะครับ ผมว่ามันดูหลอนกว่าที่แคบๆ อีกนะ พวกลานโล่งๆ หรือห้องโถงใหญ่ๆ ที่ฉายไฟไปทางไหนก็เวิ้งว้าง มันดูสยองได้ที่ทีเดียว

ส่วนเนื้อหาก็เดาได้ครับ ตอนแรกมันต้องเบาๆ วัยรุ่นในเรื่องก็จะลัลล้า ไม่คิดเลยว่าวาระอันตรายที่สุดในชีวิตกำลังจะมาถึง พอกลางๆ เรื่องมันก็จะหลอนนิดๆ ตามด้วยการจัดเต็มในตอนท้าย ออกจะลงสูตรอยู่เหมือนกัน

ก็ถือเป็นหนังสยองที่ดูได้ครับ สยองแบบกินบรรยากาศ มันดูสวย ดูเป็นธรรมชาติ แต่ก็แฝงไว้ซึ่งความลับและความน่าสะพรึง ก็เหมาะกับการดูแบบไม่คาดหวังน่ะครับ ส่วนหนึ่งที่ผมโอเคก็คงเพราะไม่หวังอะไรมาก ได้ยินคำบ่นมาเยอะ พอดูเลยไม่คิดมาก จะเสนออะไรมาเราก็ดูไป ประมาณนั้น
คะแนนความชอบ 6/10

รีวิวหนัง : Green Room (2015)

ทุกวันนี้ผมยังคิดถึง Anton Yelchin เป็นพักๆ ครับ เขาถือเป็นนักแสดงรุ่นใหม่ที่มีฝีมือมากๆ คนหนึ่ง และอาจจะเพราะหนังที่เขาแสดงส่วนใหญ่นั้นจะออกมาดี (อย่างน้อยก็ถูกใจผม) เลยทำให้ยังคิดถึงมากขึ้นไปอีก

สำหรับเรื่องนี้ก็เป็นหนังแนวระทึกขวัญสั่นประสาทที่ทำออกมาได้ดีเลยครับ มันเต็มไปด้วยความกดดัน เครียด แล้วก็มีฉากโหดๆ มาเสิร์ฟเป็นระยะ เลยทำให้นี่เป็นหนังที่คนชอบแนวนี้ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องของนักดนตรีพังค์ร็อกที่ไปเปิดการแสดงที่ผับเล็กๆ แห่งหนึ่ง พอแสดงเสร็จแทนที่จะได้กลับออกมา พวกเขากลับไปรู้เห็นสิ่งที่ไม่ควรเห็นเข้า ก็เลยโดนเจ้าของที่นั่นสั่งห้ามไม่ให้ไปไหน และจับล็อคขังไว้ในห้อง

เมื่อเวลาผ่านไปความกดดันก็ยิ่งเพิ่มครับ เพราะดูท่าว่างานนี้พวกเจ้าของผับไม่น่าจะยอมให้พวกเขาออกไปจากที่นี่แบบเป็นๆ แล้วพอถึงจุดหนึ่ง ความตายและความรุนแรงก็เริ่มต้นขึ้นจนยากเกินควบคุม

เป็นหนังที่เครียดดีครับ จนผมบอกกับตัวเองเลยว่าคงไม่เอามาดูซ้ำอีกแน่ๆ เพราะมันเครียดนะ ผมว่ามันเครียดกว่า The Purge หรือ You’re Next ซะอีก พวกตัวเอกดูจะไร้ทางออกน่ะครับ จะหนีไปไหนก็ไม่ได้ จะฝ่าวงล้อมออกไปก็ไม่ได้ แล้วก็ต้องอยู่ในห้องแคบๆ รอให้พวกคนข้างนอกมาทำร้าย มันเป็นอะไรที่กดดันเหลือแสนจริงๆ

แน่นอนว่าการแสดงคืออีกหนึ่งของดีในหนังครับ ไม่ว่าจะ Yelchin, Imogen Poots (ที่เคยร่วมแสดงกับ Yelchin ใน Fright Night ฉบับรีเมคมาก่อน), Alia Shawkat และที่ลืมไม่ได้คือ Patrick Stewart ในบทดาร์ซี่ หัวหน้ากลุ่มของชาวผับแห่งนี้

ว่ากันว่า Stewart พออ่านบทเสร็จแล้ว เขาถึงกับเดินไปล็อคประตูทั่วบ้าน แล้วก็เปิดสัญญาณกันขโมยครับ ประมาณว่าอ่านแล้วอินจนเกิดอารมณ์กลัวขึ้นมา และเขาก็ยินดีรับเล่นบทนี้เลย เพราะมันดูท้าทายความสามารถดี และผลที่ออกมา เขาก็ทำได้ดีจริงๆ ครับ

ดาร์ซี่เป็นบุคลลประเภทสุขุม ดูเหมือนไม่มีพิษภัยอะไร แต่สามารถสั่งฆ่าสั่งล่าคนอื่นได้โดยสีหน้าไม่เปลี่ยนด้วยซ้ำ เป็นบทตัวร้ายที่ไม่ได้ร้ายออกนอกหน้า แต่สามารแผ่บารมีความน่ากลัวออกมาได้เรื่อยๆ

ก็ให้บังเอิญดีครับที่ Yelchin กับ Stewart ต่างก็ผ่านหนัง Star Trek มาทั้งคู่ นึกถึงตรงนี้ก็เสียดายอีกเหมือนกันครับ เพราะเราจะไม่มีวันได้เห็น Yelchin รับบทเชคอฟใน Trek ตอนใหม่อีกแล้ว… คิดถึงจริงๆ นะครับ

หนังเขียนบทและกำกับโดย Jeremy Saulnier ที่เคยฝากฝีมือไว้ใน Blue Ruin หนังดราม่าทริลเลอร์ชั้นดีอีกเรื่อง กับเรื่องนี้เขาก็ทำได้ดีเลยครับ มันชวนให้นึกถึงหนังเก่าๆ อย่าง Judgment Night ซึ่งผมว่าเรื่องนี้ทำดีกรีความกดดันออกมาได้มากกว่าเรื่องนั้นอีกครับ

แต่ก็คงต้องแล้วแต่คนชอบ เพราะเรื่องนั้นยังน่าดูซ้ำได้บ้าง (เพราะเครียด แต่ไม่เยอะเกิน) ในขณะที่เรื่องนี้ก็อย่างที่บอกครับ ความกดดันค่อนข้างเยอะ จนคาดว่าไม่น่าจะเอามาดูซ้ำอีกแน่ๆ แม้จะชอบการแสดงของเหล่าดารานำแค่ไหนก็เถอะ

สรุปว่าเรื่องนี้อยากให้ดูกันครับ แต่ก็ต้องเตรียมใจรับความเครียดกันไว้หน่อยนะครับ เพราะหนังมันกดดันจริงๆ มีความหดหู่เจืออยู่มาก ฉากโหดๆ ก็มี แต่ไม่ถึงกับแหวะจนเกินรับไหว
คะแนนความชอบ 7/10

รีวิวหนัง : THE OLD WAYS

รีวิว หนัง THE OLD WAYS วิถีหลอน ดับวิญญาณ หนังสยองขวัญที่ฉายรอบปฐมทัศน์ที่ SITGES FILM FESTIVAL เมื่อปีที่แล้ว โดยมีเรื่องราวเกี่ยวกับนักข่าวชาวเม็กซิกันอเมริกัน คริสตินา ที่มุ่งหน้ากลับไปยังบ้านเกิดของเธอที่เมือง VERACRUZ เพื่อเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น อย่างไรก็ตามก่อนที่เธอจะทำสิ่งที่เธอจะมาทำสำเร็จ คริสตินา ก็ถูกคนในพื้นที่สองคนลักพาตัวไปโดยอ้างว่าเธอถูกปีศาจเข้าสิง ก่อนที่เธอจะได้รับอนุญาตให้ออกไป เธอจะต้องถูกไล่ปีศาจออกและถึงแม้เธอจะไม่เชื่อพวกเขา แต่เธอก็เริ่มตระหนักว่าพวกเขาอาจจะพูดความจริง หนังผีชนโรง

ภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดตัวพร้อมกับการกำลังทำพิธี ไล่ปีศาจออกจากร่างผู้หญิงที่ เบรากรูซ เม็กซิโก ก่อนตัดเข้าเรื่องฉายถึงตัวละครหลักที่ถูกจับ ซึ่งหนังก็ยังไม่ได้บอกว่าจับมาทำไม แต่จะทำให้เห็นสัญลักษณ์ต่างๆ ในสถานที่ที่ถูกจับ พร้อมทั้งเห็นถึงตัวละครที่ทำพิธีไล่ปีศาจในช่วงเปิดเรื่องก่อนที่จะพูดบอกอย่างเป็นปริศนา รวมทั้งสถานที่ที่ไม่ควรไป จากนั้นก็ค่อยๆเผยถึงเรื่องราวก่อนหน้าที่ที่นางเอกจะถูกจับ ซึ่งได้ทำให้เห็นบางสิ่ง มีฉากตกใจบ้างเวลาเจอกับปีศาจ

จากนั้นหนังก็จะค่อยๆ เปิดเผยเรื่องราวทีละน้อยผ่านตัวละครและเผยเรื่องราวในอดีตของตัวละครบ้าง ซึ่งตัวละครเกี่ยวข้องกับเหยื่อที่ถูกปีศาจเข้าร่างในช่วงเปิดเรื่อง และก็เห็นถึงพิธีไล่ปีศาจซึ่งมีหลายตัว โดยเริ่มจากการดูว่าเป็นปีศาจตัวไหน ซึ่งเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ต่างๆ ในห้องขัง แต่ก็ไม่ได้เห็นปีศาจแบบชัดเจนเท่าไหร่ และจากนั้นก็เป็นการเอาบางอย่างข้างในตัวนางเอกออกมา ซึ่งช่วงนี้อาจจะมีฉากโหดบ้างและวิธีสุดท้ายเป็นการเรียกปีศาจออกมา ซึ่งทั้งเรื่องเน้นฉายการไล่ปีศาจในสถานที่เดียว

THE OLD WAYS ให้อารมณ์แบบหนังที่มีความหลงใหล และวิถีเก่าแก่ของชาว เม็กซิกัน โดยเฉพาะเรื่องความเชื่อและวิญญาณ ความหลอนของหนังเรื่องนี้ จะเน้นความสยดสยองของงานออกแบบ และจะเน้นเป็นความหลอนแบบเย็นๆ หลอนด้วยบรรยากาศมาผสมกัน กับสิ่งลึกลับที่มองไม่เห็น ไม่เข้าใจไม่สามารถสัมผัสได้ โดยการผสานเนื้อเรื่องราวของเรื่องครอบครัวเข้าไปด้วย THE OLD WAYS เป็นภาพยนตร์สยองขวัญอเมริกันปี 2020 ที่กำกับ โดย Christopher Alender และนำแสดงโดย Brigitte Kali Canales, Andrea Cortés, Julia Vera

ถือว่าเป็นหนังที่ดูสนุกกว่าที่คิด ทั้งตื่นเต้น ทั้งลุ้นตามตลอด เหมาะกับช่วงนี้จริงๆ ใครที่เบื่อกับการกักตัว เบื่อกับโควิด เบื่อกับการเมือง ไปใหนก็ไม่ได้อยู่บ้านอย่างเดียว แอดแนะนำเรื่องนี้เลยกับหนังแนวเวทมนต์คาถา ระทึกขวัญ สยองขวัญ ห้ามพลาดเด็ดขาดดูได้แล้วบน NETFLIX

รีวิวหนัง : Cracow Monster

รีวิว Cracow Monster ประตูมิติปีศาจ ซีรี่ส์เกี่ยวข้องกับหญิงสาวที่มีอดีตคอยหลอกหลอนอยู่ตลอด เป็นภาพที่เธอไม่อยากจดจำแต่ก็ผุดขึ้นมาได้ทุกเมื่อ แล้วด้วยความที่เธอต้องการหลุดพ้นจากความหลอนเหล่านี้จึงได้ร่วมทีมกับศาสตราจารย์ที่มีความลึกลับ รวมถึงกลุ่มนักเรียนที่มีแต่คนเก่งๆ อัจฉริยะทั้งนั้นและทุกคนก็พากันไปสืบหาความจริงจากสิ่งเหนือธรรมชาติ ท้ายที่สุดก็พบว่ามีบางสิ่งกำลังตามล่าเขาอยู่ และกำลังจะเข้ามาทำร้ายเร็วขึ้นๆ พวกเขาจึงต้องทำพิธีกรรมเพื่อต่อสู้กับเหล่าปีศาจร้ายที่กำลังเข้ามาหา สุดท้ายจะเป็นอย่างไร

อเล็กซานดรา วาลาส หรือที่รู้จักกันในนาม อเล็กซ์ ไม่รู้ว่าเธอกำลังจะไปที่ไหน เธอมีชีวิตที่วุ่นวายและยุ่งเหยิงในระดับจิตใจ เธอเคยเห็นภาพเหล่านี้เมื่อเห็นแม่ของเธอขับรถและเธอนั่งอยู่ข้างหลังเธอ บ่อยครั้งที่เธอตื่นนอนและพบสิ่งมีชีวิตไร้หน้านั่งอยู่บนตัวเธอ ไม่ยอมปล่อยให้เธอหายใจ เธอไม่รู้ว่าอะไรจริงอะไรจริงอีก รูมเมทของเธอเรียกมันว่าโรคจิตเภท และเธอคิดว่าการบำบัดรักษาจะช่วยเธอได้ อเล็กซ์ ให้การสอบเข้าเพื่อเข้ารับการรักษาในชุมชนวิจัยนิติวิทยาศาสตร์

เธอพบผู้ชายที่เธอกำลังจีบเมื่อวันก่อนในบาร์ที่จะเป็นผู้ตรวจสอบ ผู้ชายคนนั้นชื่อ ลัคกี้ และเขาเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ แจน ซาวาดซกี้ หัวหน้าชุมชน ศาสตราจารย์เป็นคณะรับเชิญที่ STATE UNIVERSITY OF TEXAS และเป็นสมาชิกโปแลนด์เพียงคนเดียวของ INTERNATIONAL SOCIETY OF PATHOLOGY อันทรงเกียรติ เขาได้คิดค้นวิธีการใหม่ในการตรวจสอบและศึกษาซากฟอสซิลของสิ่งมีชีวิต ศาสตราจารย์เคยแบ่งเวลาระหว่างการทำงานในเท็กซัสกับการสอนนักเรียนชาวโปแลนด์ ในเมืองคราโคว์ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา

เป็นเรื่องราวของตำนาน สลาฟ ต้องบอกว่ารีส์เรื่องนี้ มาครบมากเรื่องระทึกขวัญ ความน่ากลัว ความหวาดเสียว ใครที่ชอบแนวนี้เรื่องนี้ต้องบอกเลย ว่าไม่ทำให้คุณผิดหวังแน่นนอน เป็นเรื่องราวของหญิงสาวคนหนึ่ง เธอนั้นได้ตัดสินใจเข้าร่วมกับศาสตราจารย์ ที่มีความลึกลับ พร้อมกับเหล่านักศึกษา ที่มีพรสวรรค์ที่เหนือธรรมชาติ จากนั้นเรื่องราวจากอดีตของเริ่มเข้ามาหลอกหลอนเธอ จากนั้นพวกเธอคิดว่าเรื่องนี้เป็นการวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ในเชิงลึก แต่ใครจะไปรู้ว่า เรื่องราวดังกล่าวปลอมทั้งนั้น เพราะที่จริงแล้ว พวกเธอถูกหลอกให้อุทิศตนเพื่อใช้เวลาสำรวจกิจกรรมเหนือธรรมชาติ และได้ต่อสู้กับปีศาจเรื่องนี้เป็นเพียงแค่การถ่ายทำเพื่อความบรรเทิงเท่านั้น เรื่องราวของพวกเขาจะเป็นอย่างไรต่อไป

CRACOW MONSTERS เป็นซีรีส์โปแลนด์ กำกับโดย KASIA ADAMIK และ OLGA CHAJDAS เรื่องนี้เชื่อมโยงนิทานพื้นบ้านในตำนานกับโลกร่วมสมัย คราคูฟ เป็นสถานที่ที่ดวงตาของคุณเมื่อยล้าเพื่อมองผ่านความมืดมิด ความเศร้าโศก และเงามืด มีผู้คนมากมายในโลกนี้ที่สามารถมองเห็นและสัมผัสถึงสิ่งที่คนธรรมดาไม่สามารถทำได้ พวกเขาตระหนักดีว่าโลกที่อยู่เหนือเรานั้นมีอยู่จริง มีความสมดุลที่ละเอียดอ่อนที่ยึดทุกอย่างไว้ในสถานที่นั้น แต่ก็ยังมีอีกมากที่ไม่รู้จัก ดูได้แล้วบน NETFLIX

หนัง : V/H/S Viral (2014)

ภาคแรกของหนังชุดนี้ถือว่าน่าสนใจ แต่ภาคที่ผมชอบมากสุดต้องยกให้ภาค 2 ครับ และสำหรับการกลับมาในภาค 3 ของหนังชุดนี้ ผมก็ทำใจแต่เนิ่นๆ ว่าคงดร็อปความสนุกลงไปตามสูตรนั่นแหละ

แล้วมันก็เป็นไปตามคาดครับ คุณภาพของภาคนี้ถือว่าธรรมดามาก จริงๆ การที่หนังทุนต่ำนั้นก็ไม่เป็นไรครับ เพราะภาคแรกก็ทุนต่ำ แต่ผลที่ได้มันพอเหมาะพอดี เล่นกับความกลัวได้ไม่เลว ในขณะที่ภาคนี้มันดูไม่น่าสนใจเท่าไร แม้จะมีเนื้อหาที่เปิดมาได้ดี

อย่างการเล่นกับเรื่องโลกคู่ขนาน หรือนักมายากลตกกระป๋องที่ดันไปพบเวทย์มนต์ของจริง แต่การเดินเรื่องมันธรรมดา ค่อนไปทางน่าเบื่อ การนำเสนอก็ไม่มีทิศทางที่ชวนให้เราอยากติดตามแบบครั้งก่อนๆ คือจริงๆ ถ้าซ้ำทางกับ 2 ภาคก่อนแล้วออกมาเรื่อยๆ ก็ยังโอเคน่ะครับ แต่ภาคนี้เหมือนพยายามจะเดินในเส้นทางใหม่ แต่ปัญหาคือมันไม่เวิร์กเท่าไรนั่นเอง

ก็ขอร่ายแบบไม่ยาวครับ เอาเป็นว่าใครชอบ 2 ภาคแรก คงต้องทำใจมากหน่อยก่อนหยิบภาคนี้ไปดู หรือไม่จริงๆ แล้วหยุดดูแค่ 2 ภาคแรกก็พอครับ ภาคนี้ข้ามไปก็ได้ ไม่เสียหายอะไร
คะแนนความชอบ 4.5/10

หนัง : Sinister (2012)

เอลลิสัน ออสวอลท์ (Ethan Hawke) นักเขียนหนังสือแนวรวบรวมความจริงเกี่ยวกับคดีฆาตกรรมได้พาครอบครัวย้ายไปอยู่บ้านที่เคยเกิดการฆ่ากันตายเพื่อที่เขาจะได้เอาข้อมูลมาเขียนหนังสือเล่มใหม่ แล้วเขาก็ไปเจอฟิล์มเก่าๆ ที่ห้องใต้หลังคา พอเปิดดูก็เจอภาพการตายอย่างน่าสยองของหลายครอบครัว

เอลลิสันไม่รู้เลยครับ ว่าเขากำลังไปยุ่งกับเรื่องที่ไม่ควรข้องแวะแม้แต่น้อย

รีวิวนี้จะมีสปอยล์ด้วยนะครับ ไม่อยากทราบข้ามไปอ่านดาวที่ด้านล่างได้เลยครับ

C. Robert Cargill คนเขียนบทหนังเรื่องนี้ได้ไอเดียหลังจากคืนหนึ่งเขาได้ดู The Ring (ฉบับฝรั่งนะครับ) แล้วเขาก็ฝันร้ายว่าเขาขึ้นไปห้องใต้หลังคา แล้วค้นเจอฟิล์มเก่าๆ เข้าม้วนหนึ่ง เขาเลยเปิดดู แล้วภาพที่ปรากฏในฟิล์มนั้นคือครอบครัวหนึ่งโดนแขวนคอตาย จากนั้นเขาก็ตกใจตื่นครับ แล้วพล็อตหนังก็ถือกำเนิดขึ้น

ถัดจากนั้นเขาก็คิดว่าหนังสยองแบบนี้ควรมีตัวร้ายที่น่าจดจำ เขาเลยตีความ “บูกี้แมน” ผีร้ายในตำนานที่คอยหลอกหลอนเด็กๆ ในเวอร์ชั่นใหม่ โดยตั้งโจทย์ว่าถ้าบูกี้แมนไม่ใช่หลอกหรือทำให้เด็กกลัว แต่เป็นการหลอกล่อล่ะ? จะเป็นยังไงถ้าบูกี้แมนแท้จริงแล้วคือปีศาจที่หลอกล่อเล่นสนุกแบบสยองกับเด็กๆ ก่อนจะพาพวกเขาไปอยู่ด้วย ทำตัวเหมือนวิลลี่ วองก้า (ตัวละครเจ้าของโรงงานช็อกโกแลตจาก Charlie and The Chocolate Factory) แต่เป็นวิลลี่เวอร์ชั่นสยองขวัญ

พอไอเดียต่างๆ เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง เขาก็จัดการเอาพล็อตมาคิดต่อร่วมกับ Scott Derrickson ผู้กำกับ Hellraiser: Inferno, The Exorcism of Emily Rose และ The Day the Earth Stood Still ซึ่งเขาก็ทำหน้าที่กำกับหนังเรื่องนี้ด้วยครับ โดยพวกเขาค่อยๆ ตัดแต่งเรื่องราวให้ลงตัวมากขึ้น พร้อมทั้งเปิดโอกาสสำหรับการทำภาคต่อ แล้วก็ปรับรายละเอียดในส่วนของบูกี้แมนเวอร์ชั่นใหม่ให้น่ากลัวขึ้น ลดโทนแบบวิลลี่ วองก้าอย่างที่ Cargill ตั้งใจแต่แรกให้จริงจังขึ้น

สำหรับตัวหนังถ้าให้ว่าตามจริงคือน่ากลัวดีครับ มาพร้อมองค์ประกอบที่หนังแนวนี้ต้องมี ตั้งแต่ตัวละครหนึ่งครอบครัวที่มีปัญหาง้องแง้งกันมานาน, บ้านที่มาพร้อมเรื่องสยอง, ของประหลาดที่ค่อยๆ โผล่มาสร้างความฉงน, ฉากมืดๆ หลืบสลัวๆ ที่ทำให้คนดูหายใจไม่ทั่วท้อง, ตัวร้ายตัวหลักที่มาพร้อมรูปลักษณ์ชวนผวา และตอนจบที่มีไว้หลอนความรู้สึกคนดู

ครับ หนังมีครบองค์ประกอบแล้วก็เดินเรื่องตามสไตล์หนังสยองที่มีปมปริศนาให้ตัวเอกติดตาม ว่าง่ายๆ ก็เหมือนเอา The Ring มายำกับ The Shining แล้วก็ปรุงอารมณ์น่ากลัวแบบ Paranormal Activity กับ Insidious อีกหน่อย ผลที่ได้ก็เลยค่อนข้างน่ากลัว กดดันสมใจคอหนังสยองครับ

แต่ถ้าให้ว่ากันตรงๆ กว่าน้้นอีกนิดก็อาจต้องบอกว่าแม้หนังจะสยอง มาพร้อมความมืด ตุ้งแช่ ปมลึกลับ และฉากจบแบบช็อคๆ แต่มันก็ไม่ได้ใหม่สดอะไรนักครับ สิ่งที่ถือว่าใหม่จริงๆ ก็คือการตีความมิสเตอร์บูกี้แมนในเวอร์ชั่นที่น่าสนใจดีครับ กับสิ่งที่มันทำกับเด็กๆ และผลที่ลงเอยในตอนจบ ถือว่าสยอง ชวนขนลุก และสร้างความหลอนได้ไม่เลว แหม ปกติถ้าหนีออกจากบ้านที่มีปัญหามันก็น่าจะจบใช่ไหมครับ แต่นี่ดันกลายเป็นว่า… แม้ผมจะเดาจุดนี้ได้ แต่ก็ถือว่าเป็นการสรุปช็อกเรื่องราวแบบเข้าท่าดีเหมือนกัน

แน่นอนว่าดาราในเรื่องคนที่เด่นสุดก็หนีไม่พ้น Hawke ที่ไปได้ไม่เลวกับบทนักเขียนที่ต้องทำหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวไปในเวลาเดียวกัน (ชวนให้นึกถึง ลัดดาแลนด์ อย่างที่หลายคนกล่าวจริงๆ) แต่ที่ผมชอบเยอะหน่อยคือการที่หนังนำเสนอผลกระทบที่น่าสนใจเกี่ยวกับงานที่เอลลิสันทำ จริงๆ ก็น่าคิดดีนะครับ เพราะงานที่พ่อแม่ผู้ปกครองทำนั้น มันอาจมีผลหรือซึมซับไปถึงลูกหลานได้ อย่างในหนังเนี่ยเอลลิสันเขียนหนังสือที่น่ากลัวแล้วยังเขียนจากเรื่องจริง ถ้าเป็นในแง่จิตใจมันก็ส่งผลให้เขามีความรุนแรง บางครั้งเขาก็แสดงออกอย่างก้าวร้าวซึ่งส่วนหนึ่งก็เพราะการคลุกคลีอยู่กับเรื่องโหดร้ายเหล่านี้

และเมื่อพ่อแม่แสดงความก้าวร้าวรุนแรง ลูกๆ ก็ย่อมได้รับผล เช่น มีพฤติกรรมก้าวร้าวตาม หรือไม่ก็มีอาการเก็บกดจนอาจเป็นบ่อเกิดให้มีอาการทางจิตได้ นอกจากนี้ยังอาจมีผลในเชิงสังคมครับ อย่างที่เอลลิสันโดนคนมากมายไม่ชอบหน้า เพราะบางคนก็มองว่าเขาหากินกับคนตายหรือไม่ก็มองว่าเป็นตัวทำให้ทัศนียภาพในย่านนั้นดูแย่ลง เพราะมันคงไม่ทำให้ใครต่อใครรู้สึกดี หากมีคนมาตั้งป้อมสืบหาเหตุฆาตกรรมอยู่ในละแวกบ้านตนเอง

ลำพังมีคนตายก็สยองพอแล้ว ยังมีคนมาตอกย้ำเรื่องนี้อีก ย่อมไม่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีสักเท่าไร

ถ้ามองอีกมุมหนึ่งเอลลิสันก็ไม่ได้คิดว่าตนทำอะไรผิด เพราะมันก็คืองานอย่างหนึ่งที่เลี้ยงชีพเขาได้ ให้ความสำเร็จเขาได้ เจือจานเงินทองให้เขาได้ นั่นคืออะไรที่เขาโฟกัส จนทำให้เขามองข้ามผลกระทบในแง่ลบที่มีต่อครอบครัวในการทำอาชีพนี้ไป

แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง เมื่อชีวิตคนในครอบครัวมาแขวนบนเส้นได้ เขาถึงค่อยตาสว่างว่าเงินทองหรือความสำเร็จชนิดไหน ก็ไม่สำคัญเท่าครอบครัว

คิดได้ ตาสว่าง แต่ทันหรือไม่ทันต้องว่ากันอีกที

โดยรวมแล้ว Sinister ถือเป็นหนังสยองที่ไม่เลวครับ น่ากลัว น่าสนใจ น่าติดตามในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ถึงกับสดใหม่อะไรนัก (ยกเว้นบทสรุปที่ชวนหลอนไม่เลว) กระนั้นจะสดไม่สด ใหม่ไม่ใหม่ แต่หากทำออกมาสยองเข้าขั้นก็ต้องชมกันไปตามจริง
คะแนนความชอบ 7/10

รีวิวหนัง : “The Hole”

“The Hole” มหัศจรรย์หลุมทะลุพิภพ

แรกๆ เมื่อได้เห็นแค่ชื่อเรื่องว่า The Hole สิ่งแรกที่แว่บขึ้นมาในความคิดเลย คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทางวิทยาศาสตร์ คล้ายๆ พวก Black Hole อะไรประมาณนั้น แต่เมื่อได้เห็นภาพโปสเตอร์ก็ทำให้รู้ว่าไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับอวกาศแน่นอน แต่จากภาพโปสเตอร์ที่เห็นครั้งแรก เป็นภาพประตูห้องหลบภัยที่ถูกล็อค และโทนสีของภาพที่ดูแล้วลึกลับชวนขนลุก ซึ่งเมื่อได้เห็นตัวอย่างภาพยนตร์ก็ยิ่งทำให้มั่นใจว่า The Hole เป็นภาพยนตร์ในแนวสยองขวัญ กระตุกขวัญ ด้วยความที่เป็นคนชอบภาพยนตร์แนวลึกลับเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ประกอบกับเรื่องนี้เค้าสร้างมาเป็นระบบ 3D (สามมิติ) ก็ยิ่งทำให้อยากเข้าไปดูมากขึ้น ดูหนังบนมือถือ 4K

ก่อนอื่นเรามาดูรายละเอียดของเรื่อง The hole 3D มหัศจรรย์หลุมทะลุพิภพ เรื่องนี้กันก่อน

เดอะโฮลทรีดี เล่าเรื่องราวของ เดน (คริส แมสโซเลีย) และน้องชาย ลูคัส (นาธาน แกมเบิ้ล) เมื่อ ซูซาน (เทอรี่ โปโล จาก Meet the Parents) แม่ของพวกเขา จำต้องย้ายออกจากนิวยอร์คไปอยู่ที่เมืองเล็กๆที่ชื่อ “เบนสันวิลล์” ความตื่นเต้นเพียงอย่างเดียวของ เดน คือการพบได้พบกับ จูลี่ (เฮลีย์ เบนเน็ทท์ จาก Music and Lyrics) สาวข้างบ้านหน้าตาน่ารัก เมื่อแม่ของพวกเขาทำงานมากกว่าอยู่บ้าน เดน และ ลูคัส จึงทำการสำรวจบ้านและพบประตูลับบนพื้นห้องใต้ดิน เมื่อทั้งสองเปิดก็พบว่ามันลึกจนมองไม่เห็นจุดสิ้นสุด ทุกอย่างที่พวกเขาทิ้งลงไปไร้เสียงกระทบ ไฟฉายและกล้องวีดีโอที่ส่องก็พบแต่ความว่างเปล่า แต่ยิ่งมองหาสิ่งที่มองไม่เห็นกลับกลายเป็นว่าพวกเขาต่างต้องเผชิญกลับความน่ากลัว

แค่เรื่องย่อเล็กๆ ที่เราพบเห็นได้ตามหน้าเว็บภาพยนตร์ทั่วไป อ่านแล้วก็ให้สงสัยว่าหลุมดำมืดที่พวกเด็กๆ พบเจอนั้นมันคืออะไรกันแน่ และนี่เองที่เป็นต้นตอของเรื่องราวทั้งหมดในภาพยนตร์เรื่องนี้ น่าจะพูดได้ว่าเจ้าหลุมดำที่เด็กๆเจอเนี่ย คือศูนย์กลางของหนัง เพราะไม่ว่าเรื่องราวจะดำเนินไปอย่างไร สุดท้ายทุกคนก็ต้องกลับมา ณ หลุมดำแห่งนี้

โดยเรื่องราวที่ได้ดูมานั้น เดอะโฮลทรีดี เป็นหนังแนวจิตวิทยา เน้นการเข้าไปให้ถึงจิตใต้สำนึกของผู้คน โดยในเรื่องคือตัวละครหลัก 3 ตัว นั่นคือ คริส แมสโซเลีย ที่รับบท เดน, นาธาน แกมเบิ้ล รับบท ลูคัส, และ เฮลีย์ เบนเน็ทท์ รับบท จูลี่? สาวข้างบ้าน ซึ่งต้องบอกว่าเป็นสาวข้างบ้านที่หุ่นเฟิร์ม น่ารัก สุด ๆ

การเดินเรื่องเป็นไปตามลักษณะของหนังแนวระทึกขวัญทั่วไป เน้นภาพที่ชวนให้คนดูสงสัยว่าสิ่งที่จะได้พบต่อไปคืออะไร และทำให้คนดูตกใจด้วยการปรากฏตัวอย่างไม่คาดฝันของสิ่งต่างๆ เหล่านั้น แต่ทว่าเป็นที่น่าเสียดายที่ตัวผู้กำกับ “โจ ดันเต้” ที่ผู้เขียนเข้าใจว่าน่าจะเน้นการทำทรีดีมากเกินไปหน่อย เนื้อเรื่อง หรือเนื้อหาของเรื่องราวก็เลยไม่ค่อยแข็งแรง หรือเป็นไปในแบบที่คนดูหนังสามารถเดาทางได้ถูก (คนข้างๆ ถึงกับนอนหลับคาโรงหนังกันเลยทีเดียว) โดยเฉพาะการปรากฏตัวของ ตาลุง แก่ ๆ บ้าๆ บวมๆ (ต้องขออภัยจำชื่อไม่ได้) ที่เคยอาศัยอยู่ ณ บ้านหลังที่เด็กๆ ทั้ง 3 เจอหลุมดำ กลับไม่ได้ช่วยเติมเต็มให้กับเรื่องราว ให้คนดูรู้สึกเต็มอิ่มแต่อย่างใด แต่กลับกลายเป็นว่าน่าสงสัยมากกว่าในการออกมา ถ้าจำไม่ผิดก็ 2 ฉาก ฉากแรกคือเด็กๆ ตามหาเพื่อที่จะสอบถามถึงหลุมดำ และฉากที่ 2 คือสิ่งที่อยู่ในหลุมดำออกมาล่า และทำให้ตาแก่หายสาบสูญไป ซึ่งทำให้เราเกิดความรู้สึกที่ว่า “ออกมาเพื่อ?????”

และแล้วก็ได้คำตอบว่า ที่ตาแ่ก่ต้องออมาถึงแม้จะมีบทบาทน้อยนิด แต่ก็เป็นส่วนที่จะมาเติมช่องว่างของเรื่องราว ด้วยการทิ้ง Dying Message เอาไว้ (ขอเอาคำจากการ์ตูนโคนันมาใช้สักหน่อย) เพื่อให้ เด็ก ๆ ทั้งสาม สามารถเดินตามต่อได้ถูกทาง เพราะความจริงอาจมีเพียงหนึ่งเดียว

ตัวหนังเดอะโฮลทรีดีเรื่องนี้ มาเฉลยให้เรารู้ว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจิตใต้สำนึกของแต่ละคน โดยดำเนินเรื่องราวให้แต่ละคนพบเจอกับสิ่งที่ตัวเองหวาดกลัวที่สุด และเป็นเรื่องราวที่คอยตามหลอนตามหลอกอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน? โดยเริ่มจากซูซาน ตามมาด้วยความกลัวของ ลูคัส และจบลงตรงการกำจัดความกลัวของ เดน ซึ่งในส่วนของ เดน น่าจะพูดได้ว่าเป็นตัวหลักของเรื่อง เพราะเป็นคนที่ต้องเผชิญกับความกลัวที่โหดที่สุด เจ็บตัวที่สุด โดยในการเผชิญความกลัวของ เดน มีการใช้ภาพระบบ 3D มากที่สุดเช่นกัน? ทำให้เวลาดูแล้วรู้สึกเหมือนเล่มเกมอยู่กลาย ๆ

แต่จะว่าไป ถึงแม้ว่าหนังเรื่องนี้ จะดำเนินเรื่องแบบอ่านเกมง่ายไปสักหน่อย แต่ในมุมมองการให้แง่คิด คงต้องยกนิ้วให้ เพราะเป็นหนังที่แฝงให้คนดูได้คิดตามว่า ไม่ว่าคุณจะกลัวสิ่ง คุณต้องกล้าที่จะหันหน้าเผชิญหน้ากับมัน อย่าได้หันหนี หรือเดินหันหลังหนีปัญหานั้นๆ ไปโดยเด็ดขาด เพราะคุณจะไม่มีวันเดินหนีมันพ้น เพราะมันอยู่ภายใต้จิตสำนึกของคุณนั่นเอง

รีวิวหนัง : Us

เปิดเผยส่วนสำคัญของภาพยนตร์
อาจไม่ใช่อาการของทุกคน แต่หลายคนก็รู้สึกหวั่นๆ แปลกๆ ในบางครั้ง เวลาส่องกระจก ยิ่งถ้าเห็นเงาตัวเองในสถานที่น่ากลัวๆ หรือส่องกระจกเห็นตัวเองในความมืด ก็ยิ่งขับเน้นความกลัวในการส่องกระจกเห็นตัวเองออกมา

Us ทำให้เราจดจำได้ถึงอาการความกลัวแบบนี้ที่มีต่อตัวเราเอง ถึงแม้ในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของลากองจะบอกว่า ภาวะกระจก (Mirror Stage) ทำให้แยกตัวเราสมัยทารกออกจากแม่ได้ เพราะตัวเราเคยคิดว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของแม่ แต่เมื่อได้ส่องกระจก มันเป็นการสะท้อนว่าเราแตกต่างจากใครทั้งหมดและมีตัวตนที่เป็นเอกลักษณ์ นั่นคือการขั้นตอนในการรับรู้ตัวตนของเรา

แต่ขณะเดียวกันในสังคมเสรีนิยมที่เชิดชูความปัจเจก การส่องกระจก หรือการสะท้อนตัวเอง อาจรู้สึกถึงการหลงใหลตัวเองได้ โดยเฉพาะในครอบครัวชนชั้นกลาง เหมือนกับว่าการมีอยู่ของตัวเราในสังคมนั่นดีงาม สวยหรู บวกกับการสร้างสังคมในแบบความฝันอเมริกัน กระจกสะท้อนในตัวเราในครอบครัวที่พอจะมีสภาพชีวิตที่อยู่ดีกินดี จึงเต็มไปด้วยความหลงใหล ความภาคภูมิใจในตัวเอง ที่สามารถทำให้ตัวเองขึ้นมาอยู่บนจุดนี้ได้

ภาพยนตร์ Us ได้สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งนั้น ความสวยงามในช่วงเริ่มต้นของครอบครัวคนดำในอเมริกา เราจะเห็นว่าในหนังเรื่องนี้ คนดำ ไม่ได้ต้องดิ้นรนเพื่อต่อสู้กับการเหยียดผิวใดๆ แบบที่หนังของผู้กำกับคนเดียวกันอย่าง Get Out เคยทำไว้ เหมือนว่านี่คือครอบครัวคนดำที่ไม่มีเส้นแบ่งใดๆมาขวางกั้น และมีความเป็นอเมริกันชนเต็มเปี่ยม

ดังนั้นครอบครัวคนดำในหนังเรื่องนี้จึงเป็นตัวแทนของคนอเมริกันได้ แต่อาจเพราะนี่คือครอบครัวคนดำที่สลัดภาพของประวัติศาสตร์การกดขี่ทิ้งไปได้แล้ว การเป็นคนชนชั้นกลางค่อนไปทางบนจึงเป็นอภิสิทธิ์ชนรูปแบบหนึ่ง และคุณจะถูกยอมรับ เพราะสามารถมีบ้านพักตากอากาศติดชายหาดอันสวยหรูได้

แต่ภาพยนตร์เรื่อง Us เหมือนกำลังดึงฝันร้ายในตัวตนอันสวยหรูที่เราเป็นอยู่ ให้เผชิญกับตัวตนอีกด้านหนึ่งที่ลืมไปแล้ว และนั่นคือภาพความกลัวเงาตัวเองที่เคยอาจหลอกหลอนตัวเราไม่ว่าครั้งใดครั้งหนึ่ง

การดีไซน์โลกของ Us ขึ้นมาแบบนี้ ซึ่งจุดประสงค์ทั้งสะท้อนภาวะความกลัวตัวเราเองที่เราพยายามกลบฝังมันไว้ และการวิพากษ์สังคมอย่างเผ็ดร้อน มันเป็นสองอย่างที่หล่อรวมได้อย่างพิสดาร แต่มันทำให้จุดประสงค์สองอย่างขับเน้นไปด้วยกันอย่างดี

อเดเลด วิลสัน คือสาวน้อยที่ถูกหลอกหลอนจากภาพของ เงามืด ของตัวเองที่มีอยู่จริงในโลกแห่งนี้ แต่เมื่อเธอโตขึ้น เธอกลายเป็นแม่ในครอบครัวที่อบอุ่น และลืมเลือนเงามืดตัวเองที่เคยหลอกหลอนไปซะแล้ว แต่เมื่อเธอได้กลับมาบ้านพักตากอากาศอีกครั้ง เธอและครอบครัวกลับถูกจับและทรมานโดยครอบครัวที่เป็นเงามืดของพวกเธอทั้งหมด นี่อาจกล่าวได้ว่า ครอบครัวเงามืดนั้น เป็นเหมือนปีศาจร้ายของตัวตนพวกเขาที่หลุดออกมาเผชิญหน้า หากตัวตนเราเป็นคู่ (Daulity) จริง สองด้านของตัวตนเรา ถูกคัดทิ้งออกไปหนึ่ง ไปอยู่ในอุโมงค์ทิ้งร้าง ที่เป็นด้านมืดของจิตใจเรา การออกมาอาละวาดของด้านมืด หรือเงามืดในใจนั้น จึงเป็นได้ทั้งการเรียกร้องของตัวตนเรา ที่ถูกกลบฝังและทำให้กลายเป็นอื่นไป

ขณะเดียวกัน การสร้างโลกที่ใช้ความเป็นคู่ของตัวตนนั้นไปไกลถึงขั้นวิพากษ์สังคมของอเมริกา นี่อาจเป็นการเชื่อมโยงชั้นดีที่ทำให้เห็นว่า ‘ความเป็นอื่น’ ‘คนนอก’ ที่เราทิ้งไว้นั่นคือชีวิตของเราอีกด้านหนึ่ง เราทิ้งเงามืดของเราไว้ และใช้ชีวิตไปอย่างปกติสุข แต่การใช้ชีวิตของเรานั้นก็ไปกระทบกับตัวตนอีกด้านของเราไป หรืออาจพูดได้ว่า ถึงแม้จะตัวเราจะมีตัวตนสองด้าน แต่ตัวตนสองด้านนั้น มีด้านหนึ่งที่ไม่ได้รับความเท่าเทียมเท่ากับอีกด้านหนึ่ง นี่เป็นการวิพากษ์ตัวตนเราแต่ก็ผูกโยงเข้ากับสังคมได้ในคราวเดียว

การโยงเข้ากับการเป็นตัวตนเรา กับการที่เราต้องลุ้นเอาใจช่วยครอบครัว ให้เอาชนะเงามืดของตัวตนเรา จึงเป็นการหลอกล่อให้เราตั้งคำถาม ในตอนจบว่าสุดท้ายแล้วความเป็นธรรมอยู่ตรงไหน ภาพการอุปมาของการเป็นตัวตนเราสองด้าน จึงเทียบได้กับการที่คนอเมริกันชนชั้นกลางส่วนบน ไม่แคร์กับคนชั้นล่างที่มีอยู่ในสังคม คนจน คนต่างถิ่นและคนดำชนชั้นแรงงาน แถมยังถูกขับเน้นเป็นคนนอก ปิดกั้นความเป็นอยู่

และยิ่งหนังพลิกพล็อตให้เห็นว่าแท้จริงแล้วคนที่เป็น อเดเลด วิลสัน ที่เราลุ้นเอาใจช่วยเธออยู่ตลอดเรื่อง นั้นเธอเป็นเงามืด ที่ถูกขัดเกลาให้กลายเป็นคนปกติ เหมือนที่เราเห็นอยู่ตลอดเรื่อง ซึ่งสิ่งนี้ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่า ความไม่เท่าเทียมนั้นได้ปิดกั้นการเป็นคนได้อย่างเต็มรูปแบบที่รัฐควรจะให้ได้ เพราะการที่ตัวตนเงามืดได้กลายเป็นคนปกติในสังคมได้ นั่นก็เท่ากับคนใต้อุโมงค์ทั้งหมด ถ้าได้รับโอกาสเท่าเทียมกัน พวกเขาก็สามารถเป็นแบบเงามืดของอเดเลดที่ถูกขัดเกลาได้เหมือนกัน นั่นคือพวกเขาก็จะกลายเป็นคนปกติ ไม่ได้มีด้านโหดร้าย ป่าเถื่อน เหมือนคนป่า อย่างคนใต้อุโมงค์

แต่ อเดเลด วิลสัน ตัวจริง ที่ถูกสับเปลี่ยนลงไปอยู่ในอุโมงค์ใต้ดิน เธอกลับกลายเป็นคนไม่ปกติ พูดไม่ได้ และน่ากลัว นี่คือภาพสะท้อนของสภาพแวดล้อมในสังคม ยิ่งถ้าเราทำให้สังคมส่วนนั้นเป็นส่วนมืด และไม่ได้รับการปฎิบัติเท่าเทียม หรือจัดสรรทรัพยากรอย่างดี เทียบเท่ากับคนข้างบน และปิดกั้นการเข้าถึงกัน คนที่อยู่ในอุโมงค์ที่กลายเป็นเพียงหุ่นเชิดของคนข้างบน หรือทาสทางจิตวิญญาณ พวกเขาเหล่านั้นก็ไม่ได้รับการขัดเกลาทางวัฒนธรรม การศึกษา และถูกปิดกั้นเอาไว้เหมือนสัตว์ในกรง การเผชิญกับการต้องถูกบังคับจากการเป็นทาส สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตที่ซังกะตาย ด้านบนกินอาหารเลิศหรู ด้านล่างกินกระต่าย ด้านบนดูมีความสุขกับชีวิตในการทำกิจกรรม ด้านล่างกระทำโดยความเศร้าหมอง

นี่คือการสะท้อนความเหลื่อมล้ำในสังคมได้อย่างแปลกประหลาด ได้เห็นกิจกรรมที่เทียบเท่ากัน การออกแรงที่เท่ากัน แต่ประสิทธิภาพ ผลิตผลต่างกัน และสภาพการเป็นอยู่ที่ต่างกัน มันเป็นภาพของคนด้านบน หรือพูดแบบแปลสารแล้ว คือการชนชั้นกลางมีอันจะกิน ได้กระทำใดๆ ในเชิงเศรษฐกิจสังคม มันก็ได้สร้างผลกระทบให้กับคนชนชั้นล่าง โดยที่พวกเขาไม่สามารถหรือมีโอกาสที่จะขยับขึ้นไปสู่คนด้านบนได้

อีกทั้งการสลับเปลี่ยนตัวตนด้านมืดของอเดเลด เมื่อเธอได้เรียนรู้โลกด้านบนแล้ว และถูกขัดเกลาทางสังคมอย่างดี เธอก็กลบฝังความชั่วร้ายของโลกใต้อุโมงค์ทิ้งไป ทำเสมือนว่ามันไม่เคยมีอยู่จริง นี่สะท้อนภาพของคนชนชั้นล่างปีนป่ายทางชนชั้นได้สำเร็จ แต่ก็ละเลย ลืมเลือน ชนชั้นของตัวเองที่เคยเป็นอยู่ และไม่พยายามต่อสู้เพื่อให้คนด้านล่างได้ขึ้นมาข้างบน

ต่างกับอเดเลด ตัวจริง ที่เกิดมาจากโลกด้านบน แต่ถูกสภาพสังคมด้านล่างขัดเกลาให้กลายเป็นแบบเดียวกับคนในสังคม (สังคมทาสของคนด้านบน) แต่เธอก็พยามจะต่อสู้เพื่อยกระดับฐานะของคนข้างล่างให้ขึ้นไป นี่คือวิธีการปฎิวัติสังคม เพื่อเรียกร้องให้เห็นว่า ความดำมืดของตัวตนเรากำลังทวงสิทธิ์การเป็นตัวตน หรือเรียกร้องสิทธิ์ในการเป็นพลเมืองของสหรัฐอเมริกาคืนมา

ในที่สุดแล้ว ภาพยนตร์เรื่อง Us จึงนำด้วยการทำให้เห็นโลกที่มีตัวตนสองด้าน ด้านหนึ่งเสมือนพระเจ้า อีกด้านเป็นความชั่วร้าย และเป็นทาส จนกระทั่งเมื่อโลกสองโลกได้พร่าเลือนพรมแดน กันและกัน อเดเลด ด้านเงามืดได้ขึ้นมาอยู่ข้างบน และอเดเลดปกติได้ถูกขับลงไปข้างล่าง การแลกเปลี่ยนกันนั้นได้ทำให้สองวัฒนธรรมที่แตกต่างกันสุดขั้วได้ใกล้กันมากขึ้น จึงเกิดการปฎิวัติครั้งยิ่งใหญ่ ด้วยการใช้สัญลักษณ์ของการร่วมมือร่วมใจทางสังคมอย่าง Hands Across America ที่เคยเกิดขึ้นครั้งหนึ่งแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ แถมยังถูกวิพากษ์ว่าเป็นเหตุการณ์กลวงเปล่า ที่ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างแท้จริง ผู้กำกับจอร์แดน พีล จึงนำเสนอภาพ Hands Across ครั้งใหม่ ที่เป็นเหมือนการปฎิวัติครั้งยิ่งใหญ่ของคนชนชั้นล่างใต้อุโมงค์ที่เรียกร้องในสิทธิพลเมืองที่พวกเขาควรได้รับมากกว่านี้

ขณะเดียวกันการทำให้เห็นการเรียกร้องตัวตนด้านมืดก็เหมือนการกลัวบางสิ่งภายในตัวเราเอง ที่กำลังขึ้นมาเรียกร้องความเท่าเทียมจากการที่เราหลงลืม ละเลย ด้อนแคร์ จนมันถูกขับเน้นเป็นสิ่งชั่วร้าย กลบฝังอยู่ภายในใจเรา เป็นปีศาจร้ายในตัวเราที่รอวันกลับมาจ้องเล่นงานเราคืนเข้าสักวัน